ข้อมูลจากเว็บไซต์

ประวัติความเป็นมาของการไหว้

มารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทาย เวลาพบปะกันหรือลาจากกัน การไหว้เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการกล่าวคำว่า สวัสดีแล้วยังแสดงออกถึงความหมาย การขอบคุณและ การขอโทษการ ไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม วัฒนธรรมในเรื่องของการไหว้นั้น มีความเป็นมาอย่างไร ไม่มีหลักฐานที่ระบุไว้แน่ชัด นายพะนอม แก้วกำเนิด อดีตเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น กรมส่งเสริมวัฒนธรรม) ได้ให้ความเห็นว่า การไหว้นั้นเกิดจากธรรมชาติของมนุษย์ที่จะแสดงความรัก ความเคารพต่อกัน เนื่องจากมนุษย์มีสมอง มีพัฒนาการที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จึงมีความคิดว่าทำอย่างไรจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จะกินอาหารอย่างไรจึงจะดีต่อสุขภาพ แต่งตัวอย่างไรจึงจะเหมาะสม ที่อยู่อาศัยทำอย่างไรจึงจะปลอดภัย รวมไปถึงเมื่อเจอกันจะทักทาย จะแสดงความรักต่อกันอย่างไรดี โดยธรรมชาติแล้วการสัมผัสถูกเนื้อต้องตัวกัน เป็นภาษาท่าทางที่แสดงออกถึงความรักที่มีต่อกัน

การไหว้”  เป็นภาษาท่าทางที่ใช้แสดงความเคารพ ทักทาย โดยการยกมือสองข้างประนม พร้อมกับยกขึ้นไหว้ในระดับต่างๆ นอกจากนี้ยังแสดงออกถึงความหมายของ การขอบคุณ การขอโทษ การยกย่อง การระลึกถึง และอีกหลายความหมายสุดแท้แต่โอกาส  การไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นวัฒนธรรมที่งดงาม รวมทั้งเป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทย ที่ปัจจุบันกำลังเลือนหายและถูกละเลยอย่างน่าเสียดาย ประเทศไทยซึ่งเคยได้ชื่อว่ามีวัฒนธรรมที่งดงามเป็นดินแดนแห่งรอยยิ้ม (Land of Smile) ที่ผู้คนรู้จักไปทั่วโลก กำลังสูญเสียสิ่งเหล่านี้ไป ทั้งที่การไหว้เป็นมารยาทแบบไทยๆ ที่เราคุ้นเคยกันมาตั้งแต่เด็ก 
​            ดังนั้น มารยาทในการไหว้ เป็นวัฒนธรรมไทยที่คนรุ่นใหม่อาจจะมองข้ามไป ด้วยเหตุผลหลายประการ แต่โดยสำนึกของความเป็นคนไทยแล้ว เชื่อว่าในส่วนลึกของจิตใจทุกคน ยังเห็นสิ่งนี้เป็นสิ่งดีงามอยู่ เพียงแต่ กระแสวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาทางสื่อต่างๆ ถาโถมมาอย่างมากมาย จนทำให้เยาวชนของเราหลงใหลไปบ้าง ทำให้หลงลืมสิ่งดีงามที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมไป ปัจจุบันจะเห็นว่าหลายหน่วยงาน หันกลับมาให้ความสนใจความเป็นไทยมากขึ้น เห็นได้ชัดตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อที่มีอยู่มากมาย ที่พนักงานไหว้แสดงการต้อนรับและขอบคุณลูกค้า ถึงแม้จะไหว้ได้ถูกบ้างไม่ถูกบ้าง ไหว้ได้สวยบ้างไม่สวยบ้าง แต่ก็ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น เป็นกันเองเสมือนญาติพี่น้องกันมากขึ้น




อ้างอิง

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม . การไหว้ มารยาทไทยที่ควรสืบทอด (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www1.culture.go.th/thai/index.php?option=com_content&view=article&id=2483:2013-11-13-09-50-13&catid=37:articles&Itemid=354 . (วันที่ค้นข้อมูล 22 มิถุนายน 2560)
           
ไชยา ยิ้มวิไล . วัฒนธรรมการไหว้ (ออนไลน์) . เข้าถึงได้จากhttp://www.srisangworn.go.th/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=62(วันที่ค้นข้อมูล 22 มิถุนายน 2560)

ธัญญารัตน์ ลองหุน . วัฒนธรรมไทยที่ต้องรักษาไว้ (ออนไลน์) . เข้าถึงได้จากhttps://sites.google.com/site/wathnthrrmkarhiw/prawati-khwam-pen-ma(วันที่ค้นข้อมูล 22 มิถุนายน 2560)



Creative Commons License
วัยรุ่นไทย กับมารยาทการไหว้ในยุค 4.0 โดย นางสาวอภิสมา บุญพา อนุญาตให้ใช้ได้ตามCreative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น